1. การจัดวาง ห้องครัวตามปกติควรจะตั้งอยู่ในส่วนต่อเนื่องกับห้องรับประทานอาหารและห้องนั่งเล่น ห้องครัวเป็นบริเวณที่มีกลิ่นอาหาร ทิศทางการจัดวางห้องครัวจึงควรอยู่ปลายลมหรือบริเวณที่ลมพัดแล้วกลิ่นจะไม่ไปรบกวนห้องอื่น ๆ ในบ้านพักอาศัยขนาดใหญ่ควรแบ่งครัวไทยและครัวฝรั่งออกจากกัน ให้ครัวไทยอยู่ภายนอกบ้านหรือในห้องแยกต่างหากเพื่อป้องกันกลิ่นจากการทำอาหาร ส่วนบ้านพักขนาดเล็กอาจใช้ร่วมกัน และใช้เป็นส่วนเตรียมอาหาร(Pantry) ไปด้วยในตัว แต่ควรมีการระบายอากาศที่ดี กรณีที่ไม่มีส่วนระบายอากาศ อาจจำเป็นต้องติดตั้งเครื่องดูดควันเหนือเตาออกสู่ภายนอก ระยะความสูงจากเตา 0.60 เมตรการปฏิบัติงานในครัวต้องคำนึงถึงการทำงานสามจุดได้แก่ อ่างล้างจานตู้เย็น และเตาไฟ ทั้งสามจุดดังกล่าวควรเรียงกันในรูปสามเหลี่ยม และแยกออกจากแนวทางเดินที่ติดต่อกับห้องอื่นการจัดวางแผนผังครัวมีพื้นฐานง่าย ๆ หลายรูปแบบดังนี้คือ
- การจัดครัวตามแนวยาวของผนังหรือสองทางมีทางเดินกลาง ซึ่งทางเดินกลางไม่ควรเป็นทางผ่านสาธารณะของบ้านเพราะจะขัดขวางการทำงาน
- การจัดครัวตัวแอล และการจัดครัวตัวยู เป็นการจัดที่ใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด แต่จะใช้พื้นที่มากมีการแยกส่วนปฏิบัติงานชัดเจน มีอ่างล้างจานส่วนโคนตัวยู และอีกสองด้านเป็นตู้เย็นและเตา และการจัดครัวแบบมีเกาะกลาง ช่วยเพิ่มพื้นที่ในการทำงานหรือใช้เป็นโต๊ะทานอาหารได้
2. การเลือกวัสดุและสีห้องครัว อ่างล้างจานเป็นบริเวณที่ใช้งานมากที่สุด นิยมใช้วัสดุเป็นสแตนเลส อ่างเคลือบโลหะหรือกระเบื้องเคลือบสีต่าง ๆ ทำให้ห้องดูสดใสขึ้นแต่ก็มีราคาแพง วัสดุผิวหน้าเคาน์เตอร์เตรียมอาหารอาจใช้กระเบื้องเซรามิคได้ แต่ต้องยาแนวระหว่างแผ่นให้ชิดกันมากที่สุดเพื่อป้องกันการสะสมของเชื้อโรค หรือใช้เคาน์เตอร์ทำจากไม้จริงและเคลือบผิวไม้ด้วยการทาสีและใช้ยูเรเทนสูตรน้ำ หรือใช้วัสดุธรรมชาติ เช่นหินแกรนิต หรือสเตนเลสสตีลอุปกรณ์ในงานครัวควรหลีกเลี่ยงพลาสติกลามิเนตผสมอะคริลิกหรือโพลีเอสเตอร์ซึ่งมีส่วนผสมของสารพิษ เฟอร์นิเจอร์ควรหลีกเลี่ยงวัสดุที่ผลิตจากวัสดุไม้อัดที่เรียกว่าปาร์ติเคิลบอร์ด (Particle board)ผนังห้องครัวควรจะต้องทนความร้อนโดยเฉพาะส่วนที่เหนือเตาไฟและต้องทำความสะอาดเศษน้ำมันและอาหารได้ง่าย ถ้าเป็นผนังทาสีความใช้สีน้ำมันเพราะทำความสะอาดได้ง่าย หรือเป็นผนังบุกระเบื้องเคลือบได้ก็จะเป็นการดีการเลือกโทนสีภายในห้องครัวควรเลือกที่มีสีสว่างสดใส วัสดุที่มีผิวมันและกันน้ำเนื่องจากสามารถเห็นรอยเปื้อนและทำความสะอาดได้ง่าย
3. เฟอร์นิเจอร์ลอยตัวและการตกแต่ง อ่างล้างจานไม่ควรอยู่ใกล้เตาไฟควรติดตั้งอ่างบริเวณใต้หน้าต่างจะช่วยระบายความชื้นได้ดีและมีที่ให้พักสายตาสู่ภายนอกเวลาใช้งาน ตู้ใต้อ่างควรมีถังขยะเพื่อทิ้งขยะจากการล้างจานได้ และอาจติดบ่อดักไขมันข้างใต้อ่างล้างจานได้เลย ตู้เก็บจานชามควรอยู่ใกล้อ่างล้างจานเพื่อความสะดวกในการเก็บหลังจากการล้าง นอกจากนั้นตู้เย็นไม่ควรอยู่ใกล้กับเตาไฟเช่นกัน เพราะระบบความร้อนจากเตาไฟจะรบกวนการทำงานของตู้เย็น ในระบบเฟอร์นิเจอร์Built-in ควรเตรียมพื้นที่วางตู้เย็นไว้ด้วย และให้วางตู้เย็นห่างจากผนังรอบด้านประมาณ 10-15 ซม.เพื่อระบายความร้อน เคาน์เตอร์เตรียมอาหารควรเลือกให้มีที่สอดปลายเท้าลงไปด้านล่างด้านบนสามารถใช้เป็นตู้ลอยเก็บอุปกรณ์มีบานปิดป้องกันฝุ่น บริเวณที่เคาน์เตอร์ชนผนังควรมีบัวกันน้ำเข้าภายในตู้ติดผนังส่วนล่าง และกันความสกปรกจากการเช็ดถู ในการปรุงอาหารจะต้องประกอบด้วยเตาหุงต้มที่มีเตาอบอยู่ส่วนล่าง เตาไฟอยู่ส่วนบนหรือแยกกันก็ได้ ซึ่งต้องคำนึงถึงพื้นที่เก็บถังแก๊ส ถ้าขนาดเล็กสามารถซ่อนอยู่ข้างใต้เคาน์เตอร์ได้ถ้ามีขนาดใหญ่ควรตั้งไว้ภายนอกห้องครัว และตั้งอยู่ห่างจากเชื้อเพลิงไม่ควรมีส่วนระบายอากาศอยู่เหนือเตาไฟเนื่องจากจะรบกวนเปลวไฟเมื่อมีกระแสลม
4. ระบบไฟฟ้าในห้องครัว ระบบไฟฟ้านิยมติดที่ผนังบริเวณเคาน์เตอร์เตรียมอาหาร ใช้สำหรับเครื่องปั่นอาหาร หม้อหุงข้าวไฟฟ้าฯลฯ ในครัวควรมีแสงธรรมชาติเพียงพอในเวลากลางวัน และใช้แสงไฟในเวลากลางคืน ไฟจากหลอดไฟควรติดตั้งใต้ตู้ลอยโดยซ่อนไฟฟลูออเรสเซนต์ไว้ด้านหลังหรือติดในระยะที่ไม่ห่างผนังมากกว่า 1.00 เมตร
ขอบคุณข้อมูลจาก:http://decor.mthai.com/