ครัวไทย เป็นครัวที่ ใช้ประกอบอาหาร ที่มีเรื่องกลิ่นเข้ามามี ส่วนสำคัญ เช่น ประกอบอาหารประเภท ผัดพริกแกง ปลาทอด คั่วพริกแกง ฯลฯ พื้นที่ตั้งของครัวไทย ครัวไทยจึงควรเป็นพื้นที่โล่ง ให้อากาศถ่ายเทได้อย่างสะดวก การจัดผังของห้องครัวไทย จึงไม่เน้น ว่าจะต้องเป็น ห้องที่มีความสวยงาม หรือมีกำแพง 4 ด้านและประตูปิดมิดชิด ครัวไทยอาจเป็นเพียงแค่มุม ๆ หนึ่งหลังบ้าน ที่มีเพียงแต่ อุปกรณ์หัวเตาแก๊ส โต๊ะไม้ สำหรับเตรียมอาหาร และ อ่างซิงค์ สแตนเลส ที่มีขายสำเร็จรูป ก็สามารถประกอบ อาหารอร่อยๆ ให้สมาชิก ภายในครอบครัวได้อย่างสบายๆแต่สิ่งสำคัญที่ควรพิจารณาก็คือ ตำแหน่ง ที่ตั้งของห้องครัว
ไทย ควรจะมีความต่อเนื่องกับ ห้องครัว Pantry เพื่อความสะดวกในการพักและเสริฟอาหารได้อย่างคล่องตัว
 
         ครัวลักษณะเตรียมอาหาร ( Pantry Kitchen) เป็นครัวที่ส่วนใหญ่เราไม่ใช้ในการประกอบอาหารหนัก
เกินไปที่อาจมีปัญหาเรื่องกลิ่นตามมา เพราะครัว Pantry ส่วนใหญ่อยู่ภายในบ้าน มีความต่อเนื่องกับห้องรับประทานอาหาร รูปแบบของผังครัว Pantry โดยทั่วไปสามารถจัดแบ่งได้เป็น 5 แบบ ได้แก่
 

 
 
                   1.ลักษณะการจัดวางแบบเส้นตรง (One Wall Kitchen) : ตู้ครัวอยู่ ชิดผนังเป็นเส้นตรง อุปกรณ์ หัวเตา อ่าง ล้างจาน และ ตู้เย็น เป็นครัวที่มีการจัดวางเป็นแบบแถวเดียวชิดผนังหมด เหมาะสำหรับครัว ในบ้านหลังเล็ก ๆ เริ่มจากส่วนบริเวณทำความสะอาด มีอ่างน้ำสำหรับล้าง ถัดมาเป็นส่วนเตรียมอาหาร และเตาเมื่ออาหารเสร็จเรียบร้อย ก็นำมาวางบนที่วางพักอาหารเพื่อรอเสิร์ฟ การจัดแบบนี้ เริ่มจากขวามือไปยังด้านซ้ายของเคาน์เตอร์ในครัว ห้องครัวแบบตัวไอนี้มีขนาดประมาณ 1.50 x 3.00 เมตร
 
                   2.ลักษณะการจัดวางแบบ เส้นขนาน 2 ด้าน : ตู้ครัวมีทั้งหมด 2 ตู้ อยู่ตรงข้ามกับแบบเส้นขนาน การประกอบอาหาร
จะสะดวกกว่าแบบเส้นตรง เพราะตำแหน่งของหัวเตา อ่างล้าง จานละตู้เย็นอาจอยู่ตรงข้ามกันตามความเหมาะสม
 

 
                  3.ลักษณะการจัดวางแบบ รูปตัว L (L-Shaped Kitchen) เป็นครัว ที่ใช้การได้ดีเช่นกัน สำหรับการทำงาน ในจุดทั้งสาม (เตา,อ่าง,ตู้เย็น) เหมาะกับห้อง ที่มีเนื้อที่ปานกลาง และเป็นบ้านโล่งๆ ที่ไม่มีการ กั้นแบ่งห้องทุกห้อง (Open Plan) ขนาดห้องครัวประมาณ 2.50 x 3.00 เมตร ลักษณะการจัดวางอุปกรณ์สามารถทำได้ง่ายกว่า แบบแถวยาวตามทางเดิน เนื่องจากมีพื้นที่มากขึ้น และระยะเคลื่อนที่ขณะ ใช้งานน้อยลง ที่สำคัญคือ ควรจัดให้ ส่วนเตรียมอาหาร และเตาอยู่ติดผนังด้าน ที่สามารถระบายกลิ่นควันออกภายนอกบ้านได้ง่าย
 

 
 
                4.ลักษณะการจัดวางแบบ รูปะตัว U : (U-Shaped Kitchen) เหมาะสำหรับบ้านที่มีพื้นที่เหลือเฟือ ทั้งบ้านและครัวนี้ จึงมีความยืดหยุ่นมากที่สุด เพราะยังสามารถขยายพื้นที่ ของเคาน์เตอร์และชั้นเก็บของต่างๆได้แบบนี้มีขนาดประมาณ 3.00 x 3.00 เมตร ลักษณะห้องเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส หากห้องมีขนาดใหญ่มากอาจเพิ่ม โต๊ะกลางสำหรับ พักอาหาร หรืออุปกรณ์อื่นได้อีก
เพดานห้องครัวไม่ควรจะต่ำเกินไป เพราะจะทำให้การระบายอากาศ ไม่สะดวกเท่าที่ควร และอาจทำให้อึดอัดได้ สำหรับห้องครัวในบ้านธรรมดาทั่วไป ควรมีเพดานสูงจากพื้น 2.60 – 2.75 เมตร
 
                5.ลักษณะการจัดวางแบบเกาะกลาง : การจัดวางแบบนี้ ก็กำลังเป็นที่นิยมแพร่หลาย ที่เน้นการโชว์อุปกรณ์ครัว
ต่างๆ ไว้ตรงเกาะกลางแทนที่จะอยู่บนตู้ชิดผนัง
 

 
              ไม่ว่ารูปแบบลักษณะการจัดวางจะเป็นแบบใด องค์ประกอบหลักของเครื่องใช้ในครัว Pantry 3 อย่าง (Appliances) ที่ขาดไม่ได้คือ หัวเตาแก๊สไฟฟ้า อ่างล้าง จานตู้เย็น ทั้งนี้ตำแหน่งที่ตั้งของเครื่อง ใช้ทั้ง 3 ส่วนนี้ จะ ต้องอยู่ในระยะ ที่เหมาะสม กับการใช้งานไม่ อยู่ในระยะ ที่ใกล้หรือไกลเกินเอื้อม รูปแบบของตู้ครัว Pantry ประกอบด้วยตู้ Cabinet ตัวล่างที่ใช้สำหรับ ประกอบอาหาร และ เป็นที่เก็บของ ส่วน ตู้ลอยซึ่งเป็น ตู้แขวนติดผนัง ใช้สำหรับเก็บของ ที่ไม่มีน้ำหนักมากเกินไป วัสดุที่ ใช้ในการทำตู้โดยทั่วไปสามารถแบ่ง ออกเป็น 2 ประเภท คือ ตู้ที่มีโครงสร้างเป็นไม้สังเคราะห์ ซึ่งไม่มีโครง สร้าง ภายในได้แก่ ไม้ MDF และParticle Board ตู้ครัว ประเภท นี้เราจะเห็นได้ทั่วไปตาม ร้านขายเฟอร์นิเจอร์ สำเร็จรูปทั่วไป ข้อดีของตู้ครัว ประเภทนี้คือเป็นครัว ประเภท ถอดประกอบ ( Knock Down ) สะดวกรวดเร็ว และง่ายต่อการติดตั้ง แต่จุดด้อยของตู้ครัวแบบนี้คือไม่ สามารถ ทนความชื้น ซึ่งเกิดจากน้ำได้ เพราะไม้ Particle Board และ ไม้ MDF จะเกิดการพองตัว ซึ่งไม่สามารถ ทำ การซ่อมได้ วัสดุประเภทสอง ที่ใช้ในการทำตู้ครัว ได้แก่ ตู้ครัว ที่มีโครงสร้าง เป็นไม้จริง และปิดผิวด้วยไม้ อัดหรือไม้จริง และจะมี ความคง ทนกว่า แบบ แรก เนื่อง จากมีโครงสร้างเป็นไม้จริง และไม่มีข้อกำหนดในการ สร้าง เป็น ครัวที่จัดทำขึ้นมาโดยเฉพาะ ไม่ใช้ชุดครัวสำเร็จรูป ตามแบบ ประเภทแรก วัสดุที่ใช้ในการทำเคาน์เตอร์ top ที่ใช้ในครัว Pantry มีอยู่ 3 ชนิด ได้แก่ top ที่ใช้หินแกรนิต หรือหินอ่อน top ที่ปูด้วยกระ เบื้องเซรามิก และ top ที่ใช้วัสดุสังเคราะห์ ขึ้นรูปประเภท Post Form ที่ปิดผิวด้วย Laminate และมีโครงสร้าง ภายในเป็นไม้ MDF
 

 

ที่ตั้ง

ห้องครัวมักจะอยู่ส่วนหลังสุดของบ้าน เพื่อป้องกันไม่ให้กลิ่นจาก การปรุงอาหารรบกวนห้องอื่น ๆ และควรอยู่ติดกับห้องเตรียมอาหารด้วย ห้องครัวจะอยู่ชั้นล่างของบ้านเสมอ และควรตั้งอยู่ในที่ซึ่งมีการระบายอากาศดี
 
แสงสว่าง
 
ภายในห้องครัวต้องมีแสงสว่างส่องทั่วถึงทุกมุม เพื่อความสะดวกและปลอดภัยในการทำงาน แสงสว่างในเวลากลางวันก็มีความสำคัญเช่นกัน การจัดวางเครื่องเรือนต่าง ๆ ควรคำนึงถึงแสงแดดที่ส่องเข้ามาในห้องครัว บริเวณชำระล้างควรได้รับแสงแดด เพื่อจะได้ไม่เปียกชื้น อยู่ตลอดเวลา ส่วนที่ตั้งตู้เย็น เตาแก๊ส ไม่ควรถูกแสงแดด

         การจัดครัวนั้นจำเป็น จะต้องคำนึงถึงจุดนี้ด้วย เพราะจะช่วยให้รู้เรื่อง ถึงลักษณะการใช้ของครัว แต่ละแบบ และเพิ่มความมั่นใจ ในการเลือกแบบ แต่ละแบบ ให้เข้าได้กับ สภาพพื้นที่ภายในบ้านที่มีอยู่ โดยให้คำนึงถึง ความสะดวกและความประหยัด ของพื้นที่ เพื่อให้เกิด ความคล่องตัว ขณะประกอบอาหารได้มากที่สุด
การกำหนดแหล่งที่ตั้งของครัวนั้น จะต้อง คำนึงถึง ปัญหาเรื่องการใช้งานเป็นหลักใหญ่ เพราะการใช้งาน เช่น การประกอบอาหารนั้น จะต้องเน้น เรื่องของความสะอาด ให้มาก และการรักษา ความสะอากที่ดี ย่อมต้องเกี่ยวข้อง กับตำแหน่งที่ตั้ง คือ ควรให้มีอากาศถ่ายเทได้ดี ไม่อับชื้น มีทางเดินที่สะดวก ในการเดินเข้าครัว และที่สำคัญตำแหน่งของห้องครัว ไม่ควรอยู่ใกล้กับส่วนที่เป็นมุมพักผ่อน หรือมุมที่ต้องการความสงบ เพราะ อาจมีเสียงและกลิ่น ที่เกิดจากการประกอบอาหาร รบกวนได้ เมื่อสามารถ กำหนดบริเวณที่ตั้งของครัว และการจัดวาง เครื่องครัวได้แล้ว สิ่งที่ควรคำนึงถึงต่อไป คือ
 


ความสว่าง
 
        แสงสว่างเป็นสิ่งหนึ่งที่จำเป็นสำหรับครัว ความสว่างตามธรรมชาติที่ได้จากหน้าต่าง นอกจากจะเป็นที่มาของแสงสว่างแล้ว ยังเป็นช่องระบายอากาศที่ดีอีกด้วย แต่ถ้าภายในครัวมีหน้าต่าง น้อยเกินไป ควรจุดติดไฟช่วย ในส่วนที่แสงไม่เพียงพอ เพราะในการประกอบอาหารนั้น จำเป็นต้องมีแสงสว่างมากพอ ที่จะมองเห็นได้ชัดเจน และทำงานได้สะดวก ดังนั้นจึงควรติดตั้งไฟ โดยใช้ไฟห้อยในพื้นที่ทำงานทุกจุด หรือจะติดไว้ตรงเพดานฝาผนัง เพื่อให้แสงไฟกระจายได้ทั่วห้อง การใช้เวลาในห้องครัวนานๆ นั้น ควรทำให้ครัวมีบรรยากาศที่ผ่อนคลาย ดังนั้นแสงสว่าง ไม่ว่าจะเป็นแสงสว่าง จากหลอดไฟ หรือแสงตามธรรมชาติก็ตาม ควรพอเพียง การทาสีห้องโดยใช้สีอ่อนๆ จะช่วยให้ครัวสว่างและดูกว้างขึ้น ควรทาสีน้ำมัน หรือสีอะครีลิคกึ่ง เงาแทนการใช้สีน้ำพลาสติคสำหรับทาภายในทั่วไป เนื่อง จากจะคงทนกว่า และทำความสะอาดคราบเขม่า คราบควัน ที่เกิดจากการหุงต้มอาหารได้ดีกว่าสีน้ำมันทั่วไป
 

 

ระบบถ่ายเทอากาศ

เมืองไทยเป็นประเทศที่มีอากาศร้อน การสร้างบ้าน จึงนิยมทำหน้าต่าง และช่องลมมาก ระบบหารถ่ายเท อากาศ จึงไม่น่าเป็นห่วงเท่าไรนัก ห้องครัวที่โปร่งโล่ง จึงเป็นลักษณะของครัวที่น่าใช้ และทางที่ดีห้องครัว ควรจะติดหน้าต่างไว้หลายๆบาน เพื่อเปิดรับแสง ธรรมชาติ เพราะแดดยามบ่าย สามารถจะช่วย ฆ่าเชื้อโรค ไล่ความเปียกชื้น ความอับทึบให้ กับครัวได้ แต่สำหรับครัวของสังคม เมืองหลวง วิธีนี้จะไม่สามารถ ถ่ายเทอากาศได้ และถ้า ระบบการถ่ายเทอากาศไม่ดีพอ ก็จะทำให้เกิดกลิ่น อันไม่น่าภิรมย์ขึ้น ดังนั้น จึงต้องใช้วิธี ติดพัดลม ระบายอากาศเหนือเตา เพื่อดูดควันอาหาร ออกไปข้างนอก ช่วยลดกลิ่นต่างๆ หรือจะติด เครื่องดูดกลิ่น และ ควันที่ด้านบน ของเตาได้

พื้นห้อง


การประกอบอาหารในทุกวัน เราต้องยืน เดินไปมา ระหว่างทำอาหารอยู่บ่อยๆ ซึ่งบางครั้งอาหาร อาจหล่นตกพื้น สร้างความเลอะเทอะ เปรอะเปื้อนพื้นได้ พื้นห้องควรลดระดับต่ำกว่าส่วนอื่นของบ้านประ มาณ 10 ซม. เพื่อเวลาทำความสะอาดพื้นหรือล้างพื้นห้อง น้ำจะได้ไม่ไหลเปรอะเปื้อนห้องอื่น และที่สำคัญอีกอย่างคือ ควรให้พื้นมีความลาดเอียงเล็กน้อยสำหรับการไหลของน้ำลง ท่อระบายน้ำที่เตรียมไว้การที่จะเลือกวัสดุ ประเภทใด มาปูพื้นนั้น ควรยึดหลัก ความทนทาน และทำความสะอาด ได้ง่ายเป็นหลัก เพราะห้องครัว เป็นห้อง ที่มีการ ใช้ความร้อนอยู่เป็นประจำ พื้นห้องจึงจำเป็น ต้องทนทาน ต่อความร้อนได้ดี และจะต้องไม่ลื่นหรือมีผิวมันจนเกินไปนัก พื้นครัวมีให้เลือก ทั้งที่เป็นพื้นกระเบื้อง พื้นหินขัด ซึ่งทนทาน ต่อการใช้งาน รักษาความสะอาดได้ง่าย แต่ค่อนข้างเย็น พื้นไม้ซึ่งให้ ความอบอุ่น สวยงาม แต่จะสกปรกง่าย หรือไวนิล ที่มีลวดลายสวยงาม การดูแลรักษาความสะอาด ทำได้ง่าย แต่ไวนิลนั้น จะชำรุดง่ายเช่นกัน

เพดาน


เพดานนับว่าเป็นปราการป้องกันแดดฝน ซึ่งเป็นชั้นรองจากหลังคาจึงไม่ควรละเลย หรือมองข้ามความสำคัญไป การเลือกใช้วัสดุแผ่นเรียบโดยทั่วๆไป อันได้แก่ กระเบื้อง ไม้อัด ยิปซั่มบอร์ด วัสดุเหล่านี้เป็นวัสดุที่น่าใช้งานมากที่สุด และสิ่งที่สำคัญคือ เมื่อใช้หรือติดตั้งแล้ว ควรทาสีโทนอ่อน เพื่อช่วยให้ห้องดูสว่างขึ้น ผนัง ผนังมีความสำคัญพอๆ กับพื้น คือ ต้องทำความสะอาดได้ง่าย วัสดุที่ใช้ ควรเป็นจำพวกกระเบื้องเคลือบที่มีผิวไม่มันหรือด้านจนเกินไป ผนัง

เครื่องใช้ในครัว

เพดาน

           เพดานนับว่าเป็นปราการป้องกันแดดฝน ซึ่งเป็นชั้นรอง จากหลังคาจึงไม่ควรละเลย หรือมองข้ามความสำคัญไป การเลือกใช้วัสดุแผ่นเรียบ โดยทั่วๆไป อันได้แก่ กระเบื้อง ไม้อัด ยิปซั่มบอร์ด วัสดุเหล่านี้เป็นวัสดุที่น่าใช้งานมากที่สุด และสิ่งที่สำคัญคือ เมื่อใช้หรือติดตั้งแล้ว ควรทาสีโทนอ่อน เพื่อช่วยให้ห้องดูสว่างขึ้น ผนัง ผนังมีความสำคัญพอๆ กับพื้น คือ ต้องทำความสะอาดได้ง่าย วัสดุที่ใช้ ควรเป็นจำพวก กระเบื้องเคลือบ ที่มีผิวไม่มันหรือด้านจนเกินไป ผนังที่ก่อ ด้วยอิฐฉาบปูนธรรมดา ควรหลีกเลี่ยง เพราะจะก่อให้เกิด ความสกปรกได้ง่ายและทำความสะอาดได้ยาก

การจัด

         การจัดห้องครัวควรคำนึงถือความสะดวกในการใช้งาน และความสะอาดเรียบร้อยเป็นสำคัญ สำหรับการจัดวาง เครื่องเรือนเพื่อให้การปฏิบัติงานในครัว เป็นไปด้วย ความสะดวกสบายนั้นมีหลักคือ ให้ระยะของ การทำงาน (ด้านข้างจากซ้ายถึงขวา) ประมาณ 1.2 เมตร ส่วนด้านลึกประมาณ 0.50 เมตร
 

 
การจัดวางแผนผังห้องครัว
 
         ข้อสำคัญในการจัดวางแผนผัง ห้องครัว นั้น ก่อนอื่น จะต้องเลือก อุปกรณ์เครื่องใช้ ที่จำเป็นเสียก่อน เช่น เตา อ่างล้างมือ ตู้เย็น กระทะ จานชาม ฯลฯ เมื่อเลือกอุปกรณ์ ได้ตามความประสงค์แล้ว จากนั้น ให้วัดขนาดของห้อง แล้ววางผังห้องแบบย่อส่วน ต่อจากนั้นให้วัดขนาด ของอุปกรณ์ เครื่องใช้ที่เลือกไว้ โดยอาจคำนึงถึง หลักต่อไปนี้คือ
 
1. การวางเตา อ่างล้าง และตู้เย็น ควรวาง ให้อยู่ใกล้กัน เพื่อความคล่องตัว ขณะปรุงอาหารยิ่งขึ้น
 
2. เคาน์เตอร์หรือโต๊ะวางเตา ควรเลือกให้มีความสูง ที่เหมาะสมคือ ประมาณ 900 ม.ม. หรือ 3 ฟุต แต่ถ้าจะวาง อ่างล้างควรเพิ่มให้สูงกว่านั้นอีก 75 ม.ม. หรือ 3 นิ้วควรให้มีที่ว่างข้างเตา เพื่อเตรียมไว้สำหรับวาง เครื่องประกอบอาหาร และจานชามได้
 
3. การวางตู้เก็บของหรือภาชนะต่างๆ ควรกำหนดให้อยู่ใกล้อุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกัน เช่น ตู้เก็บกระทะ หม้อ หรือ ชั้นวางเครื่องปรุงต่างๆ ควรอยู่ใกล้เตา ตู้เก็บจานควรอยู่ใกล้อ่างล้าง เพื่อสะดวกในการเก็บเข้าที่ หรือหยิบใช้ได้สะดวก
 
4. การวางปลั๊กไฟฟ้า ควรมีที่เสียบปลั๊กสำหรับ อุปกรณ์ไฟฟ้าไว้อย่างน้อย 2 แห่ง
ครัว เป็นที่สำหรับ ประกอบอาหาร ดังนั้นการเลือกสรรอุปกรณ์ในครัว จึงเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ที่ไม่ควรมองข้าม และจะขาดเสียไม่ได้ โต๊ะประกอบ อาหาร เป็นส่วนสำคัญ และใช้งานมากที่สุด ในการประกอบอาหาร จึงควรให้พื้นที่บริเวณนี้กว้างพอ สำหรับการจัดเตรียมอาหาร และวางอุปกรณ์ ส่วนด้านบนของโต๊ะ อาจปูด้วยกระเบื้องเซรามิค สแตนเลส หินอ่อน ไม้หรือแผ่นเหล็กขนาดบางๆ ก็ได้ ที่เก็บของ อาจเป็นตู้เก็บหรือขวด สำหรับใส่ของแห้ง เพื่อป้องกันความชื้นในอากาศ สำหรับครัวที่แคบๆ อาจจะทำเป็นตู้ติดบานพับ เป็นการเพิ่มเนื้อที่ ใช้งานได้อีกด้วย
 
 

 
เครื่องเรือน
 
ในห้องครัวแบบสากลประกอบด้วยเครื่องเรือนดังนี้
 
               - ตู้ส่วนกลาง ขนาดความลึก 0.50-0.55 เมตร ความสูงนิยม ให้พอดีระดับใต้หน้าต่างคือประมาณ 0.80 – 0.90 เมตร ความยาวขึ้นอยู่กับขนาดของห้องครัว ห้องครัวที่มีเนื้อที่แคบ จะมีตู้หนึ่งใบยาวตลอดแนวฝาด้านหนึ่ง ถ้าห้องครัวมีขนาดกว้าง จัดเป็นรูปตัวแอลหรือตัวยู ก็อาจมีตู้ได้ 2-4 ใบส่วนบนเป็น ลิ้นชักสำหรับเก็บมีด ช้อนส้อม และเครื่องครัวชิ้นเล็ก ส่วนล่างเป็นตู้บานเปิด หรือบานเลื่อน เก็บเครื่องครัวชิ้นใหญ่ จาน ชาม ฯลฯ นิยมกรุตู้ ด้วยวัสดุทนไฟและทำความสะอาดง่าย เช่น ฟอร์ไมกา เป็นต้น
 
             - ที่เตรียมอาหาร ประกอบด้วยอ่างน้ำทำด้วยโลหะไม่เป็นสนิม และที่สำหรับการเตรียมอาหาร เช่น หั่นเนื้อ ผัก ฯลฯ มีขนาดเท่ากับตู้บางทีนิยมทำเป็นส่วนเดียวกับตู้ ตอนล่างของเตรียมอาหารนี้อาจทำเป็นชั้นโปร่ง เพื่อวางสิ่งของหรือทำเป็นตู้เก็บภาชนะต่าง ๆ ก็ได้
 
             - ตู้แขวนติดผนัง ขนาดความลึก 0.35-0.40 เมตร ความยาวให้ได้สัดส่วนกับตู้ส่วนล่างแขวนติดผนังโดยสูงเท่ากับ ระดับวงกบของประตูหน้าต่างซึ่งสูงจากพื้นประมาณ 1.60-1.70 เมตร ตู้แขวนนี้สำหรับเก็บตำราอาหาร เครื่องปรุงอาหารเครื่องแก้ว และเครื่องครัวที่มีน้ำหนักไม่มากนัก
*ตู้เย็น สำหรับเก็บอาหารสด ควรเลือกขนาดให้เหมาะสมกับจำนวนสมาชิกในบ้าน
*เตา สำหรับหุงต้ม มีหลายแบบ ได้แก่
 
             -เตาถ่าน นิยมใช้ในครัวไทยยุคก่อน ปัจจุบันเกือบไม่มีแล้ว มีเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 0.15 ถึง 0.30 เมตร มีทั้งที่เป็นเตาเดี่ยวและก่อเป็นตู้มี 2-3 เตา ประกอบกัน พื้นด้านบนของตู้ปูกระเบื้องเคลือบซึ่งง่าย ต่อการทำความสะอาด ส่วนล่างของตู้ใช้เป็นที่เก็บขี้ไต้ ถ่าน พัด ฟืน คีมคีบถ่าน เตาถ่านมีข้อเสียคือมีเขม่าและขี้เถ้ามาก ทำให้ห้องครัวสกปรกได้ง่าย

            -เตาแก๊ส มีทั้งแบบที่มีแต่หัวเตา แบบเตาเดี่ยวที่มีโครงภายนอกตั้งบนโต๊ะ ไปจนถึงแบบที่เป็นตู้ใหญ่มีหัวเตา 3-5 หัว และด้านล่างเป็นเตาอบ และมีที่เก็บถังแก๊ส แต่โดยทั่วไปนิยมเก็บถังแก๊สไว้ภายนอกบ้านเพื่อความปลอดภัย โครงภายนอกของเตาแก๊สนิยมใช้โลหะที่ไม่เป็นสนิม ถ้าเป็นตู้ใหญ่มักเคลือบด้วยน้ำยาเคลือบ (enamel) ซึ่งง่ายต่อการทำความสะอาด

           -เตาไฟฟ้า มีให้เลือกใช้หลายขนาดเช่นเดียวกับเตาแก๊ส โดยต้องคำนึงถึงระบบจ่ายไฟฟ้าให้มีกำลังไฟฟ้ามากพอต่อการใช้งาน และระบบความปลอดภัยของเตาที่ดี

          -อ่างล้างจาน มีหลายชนิดให้เลือก เช่น กระเบื้องเคลือบ อะลูมิเนียมสเตนเลสสตีล ฯลฯ ขนาดมาตรฐาน คือ 0.35 x 0.50 เมตร ลึก 0.15-0.20 เมตร อ่างคู่จะใช้งานในการล้างได้สะดวกมากกว่าอ่างเดี่ยว บริเวณด้านข้างของอ่างมีที่วางสิ่งของที่ต้องการล้างและมีที่วางพักน้ำเมื่อล้างเสร็จแล้ว การติดตั้งอ่างล้างจานที่มีระดับอ่างสูงพอเหมาะคือให้ผู้ใช้วางฝ่ามือแตะก้นอ่างได้พอดีโดยไม่ต้องงอข้อศอกหรือก้มตัว
นอกจากนี้ ในห้องครัวควรมีการระบายอากาศโดยติดตั้งอุปกรณ์ดูดควันและกลิ่นซึ่งมีให้เลือกหลายแบบ ได้แก่ ปล่องไฟ พัดลมดูดอากาศ หรือเครื่องดูดควัน
 
 

 
อุปกรณ์เครื่องครัวที่จำเป็น
 
          1. เตาหุงต้ม สามารถแบ่งออกได้ตามลักษณะ การติดตั้ง และลักษณะการใช้เชื้อเพลิง ดังนี้
การแบ่งตามลักษณะการติดตั้ง มี 2 แบบ คือ

          1.1 การติดตั้งแบบลอยตัว เตาที่ติดตั้ง แบบลอยตัว นั้นถ้าเป็นเตาที่มีลักษณะเฉพาะ หัวเตา อย่างเดียว จะต้องวางไว้บนเคาน์เตอร์ ซึ่งเคาน์เตอร์ จะต้องทำระดับให้ลดลง เพื่อจะได้มีเนื้อที่ไว้ สำหรับ วางเตา และจะทำให้ระดับด้านบนของเตา และ เคาน์เตอร์สูง เท่ากันพอดี

          1.2 การติดตั้งแบบเจาะฝัง ( Built-in ) เตาที่ติดตั้งแบบเจาะฝัง จะมีเฉพาะ ตัวเตาเจาะฝัง ไว้ ในเคาน์เตอร์ซึ่งจะมีหัวเตาโผล่ขึ้นมาเท่านั้น ดูแล้วทำให้ ไม่เกิดการเกะกะ แต่กลับดูเป็น ระเบียบ เรียบร้อย และสวยงามอีกด้วย การติดตั้งแบบนี้ จึงเป็นที่นิยมมาก สำหรับคนที่ต้องการ จะตกแต่งครัว ในสมัยนี้
การแบ่งตามลักษณะการใช้เชื้อเพลิงมี 3 แบบ คือ

          1. แบบใช้แก๊ส
          2. แบบใช้ไฟฟ้า
          3. แบบใช้ถ่าน (ซึ่งแบบนี้ไม่นิยมติดตั้งไว้ในครัวสำเร็จรูป) นอกจากนี้ยังมีเตาอีกชนิดหนึ่ง ที่นิยมใช้กันคือ เตาแก๊สที่มีตู้อบอยู่ในตัวด้านล่าง ถ้าใช้เตาลักษณะนี้จะต้องออกแบบแปลนครัว ให้มีช่องว่างไว้สำหรับวางเตา แต่ถ้าหากต้องการเตาอบ ควรเลือกใช้เตาอบไมโครเวฟ เพราะสามารถที่จะใช้งานได้อย่างมาก และสะดวกสบาย ไม่ว่าจะวางไว้ส่วนไหนของครัวก็ตาม
 
           2. อ่างล้างหรือซิงค์์
 
           อ่างล้างนี้มีให้เลือกหลายชนิด แบบหลุมเดี่ยวไม่มีที่พักจาน
แบบหลุมคู่ไม่มีที่พักจาน
แบบหลุมเดี่ยวมีที่พักจานข้างเดียว (ซ้ายหรือขวา)
แบบหลุมเดี่ยวมีที่พักจาน 2 ข้าง
แบบหลุมคู่มีที่พักจานข้างเดียว
แบบหลุมคู่มีที่พักจาน 2 ข้าง
แบบหลุมเดี่ยวมีที่พักจานและหลุมเล็กสำหรับอาหาร และ
แบบหลุมคู่มีที่พักจาน 2 ข้างและหลุมเล็กสำหรับเศษอาหารตรงกลางหรือชนิดที่ฝังตัวอยู่ใน เคาน์เตอร์

          การเลือกอ่างล้างจานควรหลีกเลี่ยงอ่างล้าง ประเภทเคลือบที่มีพื้นผิวแข็ง วัสดุที่ใช้สำหรับทำขอบอ่างล้างจานก็จะมีหลายชนิด ควรเลือกใช้
อ่างพลาสติก อ่างอะลูมิเนียม หรืออ่างสแตนเลส ทั้งนี้เพื่อป้องกัน การกระทบกระแทก ของแก้วจานชามต่างๆ ส่วนวัสดุที่ใช้สำหรับทำขอบอ่างล้างจานก็จะมีหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น สแตนเลสซึ่งเป็นวัสดุไม่ซึมน้ำ แข็งแรง ทนทาน สวยงาม ทันสมัย ทำความสะอาดง่าย ถ้าคุณเลือกแบบสแตนเลสควรเลือกแบบที่มีส่วนผสมของโครเมี่ยมและนิเคิลในสัดส่วน 8:10 เพราะจะให้ทั้งความมันวาวและคงทน แต่ถ้าเป็นแบบเหล็กเคลือบสีก็จะมีความแข็งแกร่ง มีสีให้เลือกมากมาย ราคาก็ไม่แพง หรือจะเป็นชนิดที่ทำด้วยหินธรรมชาติก็จะมีความคงทน สวยงามและทำความสะอาดง่าย ส่วนชนิดที่ทำด้วยพลาสติคลามิเนตก็จะให้ความหลากหลายในเรื่องของสีสัน รูปแบบ ผิวสัมผัสและทำความสะอาดง่าย
 
          บริเวณที่ติดตั้งอ่างล้าง ควรติดตั้งให้อยู่ใกล้ ท่อประปากับท่อน้ำทิ้ง และควรเป็นบริเวณที่มีพื้นที่มากๆ เพื่อที่จะเอาไว้วางของก่อนล้าง และหลังล้าง ปัจจัยที่นำไปประกอบการเลือกอ่างล้างก็คือ ก๊อกน้ำ ควรเลือกชนิดก๊อกสูง ปลายก๊อกลอยพ้นขอบอ่างเพื่อความสะดวกในการช้งาน ก๊อกน้ำส่วนใหญ่จะมีรูปลักษณ์ที่ลงตัวเข้ากับอ่างล้าง มีสีให้เลือกมากมายทั้งสีขาว สีน้ำตาลหรือสีแกรนิต อาจจะเป็นก๊อกแบบผสมน้ำร้อน น้ำเย็นก็ได้ สามารถปรับระดับน้ำได้ด้วยคันโยกหรือแบบหมุน บางชนิดจะมีสายท่อน้ำยืดหยุ่น มีแรงดันน้ำเป็นแบบสเปรย์ดับเบิ้ลเจ๊ต
 
        3. ตู้เย็น

          ปัจจุบันได้กลายเป็นอุปกรณ์ครัว ที่มีความจำเป็น ในชีวิตประจำวันมาก เนื่องจากสภาพ ความเป็นอยู่ของสังคมได้เปลี่ยนแปลงไป ตู้เย็นจึงมีบทบาทขึ้นมาก ตามความต้องการ เพราะตู้เย็น สามารถเก็บรักษาอาหารไว้ได้นานๆ จะหยิบใช้เมื่อไร ก็สะดวกสบาย แต่การตั้งตู้เย็น ก็ไม่จำเป็นต้องตั้ง ไว้ในครัวเสมอไป ถ้าหากพื้นที่ในครัวมีไม่เพียงพอ

          การจะเลือกตู้เย็นขนาดไหนนั้นขึ้นอยู่กับ ความต้องการ ของผู้ใช้ และการใช้งานของแต่ละบ้าน ตู้เย็นที่มีขาย ตามท้องตลาดส่วนมาก จะมีขนาดตั้งแต่ 4 คิว ถึง 16 คิว ให้เลือกได้ตามความจำเป็นในการใช้งาน
 
        4. อุปกรณ์เสริม คือเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดที่ใช้ในครัว ทุกวันนี้อุปกรณ์เสริมได้เข้ามามีบทบาทมาก เช่น
เตาไมโครเวฟ หม้อหุงข้าวไฟฟ้า กระติกน้ำร้อน ที่ปิ้งขนมปัง เตาอบ และเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งอุปกรณ์เสริมเหล่านี้จัดได้ว่าเป็นสิ่งที่อำนวยประโยชน์ให้กับชีวิตประจำวัน และอำนวยความสะดวก สบาย ให้กับการประกอบอาหารได้อย่างมาก

        สำหรับครัวสมัยนี้ เตาไมโครเวฟมีความสำคัญ และมีประโยชน์ในการใช้อุ่นอาหาร หรือประกอบอาหารได้ทั้งยาก-ง่าย เตาไมโครเวฟยังเป็นเครื่องที่ช่วยประหยัดเวลาในครัวได้ดี
 
       หม้อหุงข้าวไฟฟ้า กระติกน้ำร้อน ที่ปิ้งขนมปัง เตาอบ และเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งอุปกรณ์เสริมเหล่านี้จัดได้ว่าเป็นสิ่งที่อำนวยประโยชน์ให้กับชีวิตประจำวัน และอำนวยความสะดวก สบาย ให้กับการประกอบอาหารได้อย่างมาก
 
           5. เฟอร์นิเจอร์ชุดครัว คือ พวกชั้นวางของต่างๆ ในครัว รวมทั้งเคาน์เตอร์ที่ติดตั้งไว้ในครัวด้วย โดยเฟอร์นิเจอร์ชุดนี้จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน คือ

              5.1 ตู้เก็บของชั้นบน หรือตู้แขวนข้างบน เป็นตู้ที่ใช้เก็บของต่างๆที่มีความจำเป็นต้องใช้ในครัว ซึ่งเราสามารถจุออกแบบให้เป็นตู้ใส่กับข้าวด้วยก็ได้

              5.2 เคาน์เตอร์ หรือชั้นวางของ ( Work Top) เป็นที่วางเตาหุงต้ม และอ่างล้าง ปกติเคาน์เตอร์ในครัว ควรทำให้สูง 80 ซ.ม. และกว้าง 60 ซ.ม.ซึ่งการจัดวางนั้น จะขึ้นอยู่กับการวางแปลนของแต่ละคน และต้องมีเนื้อที่ เพียงพอ กับการใช้งาน บริเวณที่วางเตา จะต้องมี เนื้อที่ทั้ง 2 ข้างให้ว่างเพื่อที่จะเอาไว้ วางของในขณะ ประกอบอาหาร

              5.3 ตู้เก็บของชั้นล่าง ส่วนมากจะเก็บพวกถ้วยชาม หม้อ กระทะ และอุปกรณ์อื่นๆ ตู้เก็บของชั้นล่าง สามารถที่จะออกแบบ ให้ปรับระดับได้ เพื่อไว้เก็บของชิ้นใหญ่ หรืออาจจะมีตะกร้าไว้ สำหรับเก็บถ้วยชาม ด้วยก็ได้ บางตู้อาจออกแบบไว้ สำหรับใส่ถังแก๊ส ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทั้งเจ้าของบ้าน และนักออกแบบ จะต้องทำความเข้าใจให้ตรงกัน โดยคำนึงถึงความต้องการของเจ้าของบ้านเป็นหลัก .
 
การวางแผนสำหรับติดตั้งชุดครัว

               ในการติดตั้งอุปกรณ์ครัว จะต้องคำนึงถึง องค์ประกอบ ร่วมอย่างอื่นภายในครัวด้วย เพื่อที่จะได้ครัว ที่สมบูรณ์แบบที่สุด ส่วนประกอบอื่นๆที่ต้องมีในครัวคือ

                    การปูพื้นด้วยกระเบื้องตามผนังครัว ตามมาตรฐาน จะเริ่มปูที่ระดับความสูง จากแนวพื้นครัวประมาณ 81 ซ.ม. และปูตามแนวกระเบื้องให้สูงขึ้นไปประมาณ 60 ซ.ม. สำหรับบริเวณที่วางเตาแก๊สและเครื่องดูดควัน ควรจะเพิ่มความสูง ของแนวกระเบื้องมาตรฐาน
 
              1. การวางท่อน้ำดีและท่อน้ำทิ้ง การต่อท่อน้ำเข้าครัวนั้น ควรมีทั้งท่อน้ำดีและท่อน้ำทิ้ง การต่อท่อมี 2 ลักษณะ คือ
                                   - ท่อน้ำที่ต่อมาจากผนังด้านนอก ท่อน้ำดีจะต้องสูงจากพื้นประมาณ 50 ซ.ม. ส่วนท่อน้ำทิ้งควรสูง จากพื้นประมาณ 30 ซ.ม.
                                  - ท่อน้ำที่ต่อจากพื้นขึ้นไป ท่อน้ำดีควรห่างจากผนัง 30 ซ.ม. และท่อน้ำทิ้งควรห่างจากผนัง 30 ซ.ม. เท่ากัน

              2. การติดตั้งปลั๊กไฟ ควรเพียงพอกับอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่มีอยู่ในครัว เพื่ออำนวยความสะดวกได้ อย่างทั่วถึง โดยควรยึดหลัก ต่อไปนี้
                                - ปลั๊กไฟสำหรับเตา ควรติดตั้งให้สูงจากพื้น 60 ซ.ม.
                                - ปลั๊กไฟสำหรับเครื่องดูดควัน ควรติดตั้งให้สูงจากพื้น 190 ซ.ม.
                                - ปลั๊กไฟสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ควรให้อยู่สูง จากพื้น 120 ซ.ม.

          หน้าต่างในห้องครัวควรอยู่ในบริเวณที่แสงแดด ส่องผ่านได้อย่างทั่วถึง เพื่อจะช่วยให้ภายในครัว ไม่เกิด การอับชื้นหรือขึ้นรา และอากาศ ยังสามารถ ถ่ายเท ได้สะดวกอีกด้วย การติดตั้งหน้าต่างในครัวนั้น ควรติดให้มากพอเพียงกับความต้องการ ตามปกติ วงกบหน้าต่าง ควรสูงจากพื้นประมาณ 90 ซ.ม. และความสูง ของหน้าต่าง 110 ซ.ม.
 
                   6. อุปกรณ์เครื่องครัว ถือว่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยเนรมิตครัว ให้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น อีกทั้งยังนำความสุข ความสะดวกสบายมาสู่ผู้เป็นเจ้าของและสมาชิกในบ้านอีกด้วย ครัวจึงคงความมีเสน่ห์อยู่ อย่างไม่ เสื่อมคลาย ทั้งในอดีตและปัจจุบัน

            กระทะ มีด้วยกันหลายรูปแบบและชนิดที่ผลิต ให้เลือกได้ตามความต้องการ กระทะเหล็กเคลือบ เหมาะสำหรับการปรุงอาหารที่ต้องใช้เวลานานๆ บนเตา กระทะที่ทำด้วยเหล็กสแตนเลส จะไม่ทำปฏิกิริยากับกรดหรือด่าง แต่อย่าใช้ไฟแรง ถ้าไม่ต้องการให้เปลืองน้ำมันเวลาทอด ก็ควรที่จะเลือกใช้ กระทะแบน กาต้มน้ำ มีทั้งแบบโลหะที่ใช้งานได้ดีและประหยัดพลังงาน และแบบพลาสติก ที่ทนความร้อน มีด ควรเลือกชนิดที่ดีๆ เพื่อประสิทธิภาพในการใช้งาน และควรเก็บ ให้มิดชิด เพื่อป้องกันอันตราย