ดูช่างปู  
1. ตรวจสอบสี ขนาด จำนวน และคุณภาพของกระเบื้อง กระเบื้องรุ่นเดียวกัน สีเดียวกัน อาจมีความเข้มของสี ต่างกัน ( lot shade ) ถ้าผลิตไม่พร้อมกัน
2. ช่างต้องตีแนวเส้นไว้สองแนว คือซ้ายและขวาตามขนาดของกระเบื้อง พร้อมกำหนดระดับความสูง เพื่อให้ได้ระดับของการระบายน้ำไปยังท่อ ห้ามปูแบบฟรีสไตล์เด็ดขาด
3. ผสมปูนปูกระเบื้อง 1 ส่วน ทราย 2 ส่วน ถ้าเป็นกาวซีเมนต์สามารถใช้ได้เลย (ไม่ควรผสมปูนมากเกินไป เพราะปูนจะแข็งตัว แห้ง และคุณภาพไม่คงที่ อาการนี้เรียกว่า “ปูนเค็ม” )
4. กรณีที่ปูในพื้นที่มากๆหรือผสมปูนไว้นานแล้ว ให้นำกระเบื้อง (เฉพาะกระเบื้องเซรามิก) ไปแช่น้ำประมาณ 10 –15 นาที เพื่อให้กระเบื้องอิ่มน้ำ จะได้ไม่ดูดน้ำจากปูนเร็วเกินไป
5. นำกระเบื้องมาปูโดยควรป้ายปูนด้านหลังให้เต็มแผ่นเพื่อความแข็งแรง การปูกระเบื้องทั้งที่ผนังและพื้นควรให้แต่ละแผ่นมีระยะห่างกันอย่างน้อย 2 มิลลิเมตร เพราะการปูให้ระบายน้ำได้อาจต้องเอียงแผ่นเล็กน้อย ฉะนั้น จึงต้องมีช่องว่างระหว่างแผ่นให้ปรับระดับได้
6. ลงมือยาแนวกระเบื้อง ปัจจุบันมียาแนวที่ผสมสีฝุ่นและซีเมนต์สีให้เลือกโดยเฉพาะ สำหรับอัตราการผสมให้ใช้ปูนยาแนว 1 ส่วน น้ำ 1 ส่วน
   
ค่าแรงเท่าไร  
เมื่อทราบขั้นตอนการปูกระเบื้องไปแล้ว สิ่งที่เราต้องรู้ต่อมาคือ ราคาค่าแรงของการปูประเบื้องแต่ละชนิดว่าคิดกันตารางเมตรละเท่าไร
   
ชนิดของกระเบื้อง ราคาต่อตารางเมตร
เซรามิก 250-300 บาท
โมเสก 350 บาท
แกรนิตโต้ 300 บาท
แกรนิต – หินอ่อน 300 บาท
   
ปูด้วยอะไรดี  
สิ่งที่นิยมนำมาใช้ปูกระเบื้องมีอยู่สองชนิด ได้แก่ ปูนทราย และกาวซีเมนต์ เรามาดูข้อดีข้อเสียของแต่ละชนิดว่าแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
   
กาวซีเมนต์ ปูนทราย
ข้อดี ข้อดี
- ปูได้ไวกว่าวิธีอื่น - ราคาถูก
- นำไปใช้ได้เลยเพียงแค่ผสมน้ำ - ปรับระดับได้ง่ายกว่า
- ยึดเกาะได้ดีกว่าปูนทราย  
- สามารถยาแนวได้ภายใน 24 ชั่วโมง ไม่ต้องรอความชื้นระเหย  
- ได้ความหนาพื้นบางกว่าปูนทราย  
   
ข้อเสีย ข้อเสีย
- ราคาแพง - ใช้เวลานาน
- ต้องปรับระดับพื้นที่ให้ดีก่อนปู - เกิดความชื้นใต้กระเบื้องมาก
  - มีโอกาสหลุดล่อนได้ง่ายกว่า
   
กันไว้ก่อนเกิดปัญหา  
เมื่อเราพูดถึงเรื่องต่างๆเกี่ยวกับกระเบื้องไปแล้ว แน่นอนว่าปัญหาที่เกิดกับกระเบื้องย่อมมีเช่นกัน เรามาดูสาเหตุและวิธีแก้ไขกัน

 

ปัญหา สาเหตุ การป้องกัน
- กระเบื้องระเบิด - มีความชื้นใต้กระเบื้องมาก - ผสมปูนกับทรายให้ได้อัตรา 1:2
  - ปูนที่ปูมีการผสมผิดส่วน - เว้นช่องว่างอย่างน้อย 2 มิลลิเมตร และยาแนวให้ดี
    - ใช้กาวซีเมนต์
- กระเบื้องแตกหัก - มีช่องกลวงใต้แผ่น - ฉาบปูนให้เต็มแผ่นกระเบื้อง
- ผิวกระเบื้องด่าง ยาแนวหาย - น้ำยา แปรงขัด - เลือกน้ำยา แปรงขัดให้เหมาะกับชนิดกระเบื้อง
- กระเบื้องหลุดล่อน - ผสมปูนผิดสัดส่วน - ผสมปูนให้ได้ส่วน
  - ปูนระหว่างการปูเสียน้ำมากไป - แช่กระเบื้องในน้ำก่อนปู 10-15 นาที
- กระเบื้องขาด - สั่งกระเบื้องไม่พอ - ซื้อเก็บเป็นสต๊อกไว้เผื่ออนาคตรุ่นและสีอาจเลิกผลิตไปแล้ว
  - ขั้นตอนปูเกิดความเสียหายมาก