ขนมปังขิง ต้นแบบของบ้านแบบนี้




บ้านสไตล์ทั้ง 3 นั้น ในภาพรวม คือสไตล์ที่เรา (และคนอื่นด้วย) รับเราอิทธิพลรูปแบบของเขามาใช้ ด้วยรูปแบบที่สวยงาม หรือน่าสนใจ อะไรก็แล้วแต่ ถ้าเหมารวมว่าเป็นอิทธิพลจากตะวันตก ก็จะสับสนได้ แต่ถ้าเราตีวงแคบเข้ามา และมีรูปประกอบด้วยแล้ว จะไม่สับสนเด็ดขาดครับ

บ้านขนมปังขิง เน้นการประดับตกแต่งส่วนต่างๆด้วยลายฉลุ


บ้านขนมปังขิง ที่ลงเรื่องไปแล้ว ลองย้อนกลับไปดู คงเห็นภาพเอกลักษณ์เด่นได้ชัดเจนคือ ลายฉลุต่างๆแบบพรรณพฤกษา หรือธรรมชาติ ตามส่วนต่างๆของตัวบ้าน หน้าจั่ว ชายคา ช่องลม ค้ำยัน เขาจะใส่ไปทุกที่เลย ดังนั้น บ้านแบบขนมปังขิงนี่ เอกลักษณ์คือลายฉลุ ประดับประดานั่นเอง ส่วนรูปทรงไม่ต้องไปดู เพราะเป็นเรื่องยุ่งยากกว่า


ตึกพวกนี้เป็น โปรตุกีสโคโลเนียลแท้ๆ ในประเทศต่างๆ ยังไม่ได้ไปผสมกับแบบท้องถิ่น รูปแบบที่เห็นก็คุ้นๆตา คล้าบกับตึกเก่าๆในเมืองไทยเราเหมือนกัน













สไตล์ชิโนโปรตุกีสนี่ จากรากศัพท์ก็พออธิบายได้ว่าเป็นแบบจีนผสมโปรตุเกส ผสมกันโดยโครงสร้างนั้น ทั้งโปรตุเกสและจีนนิยมสร้างเป็นตึกแถว ที่เราคงคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว ส่วนหน้าตา คาเลคเตอร์นั้น ก็จะเอาของโปรตุเกสมาผสม รูปแบบงานโปรตุเกสนี่ถ้าที่เมืองเขา ดูจะออกไปทางแขกหน่อย แต่ที่นำมาผสมกับจีนนี่ จะคล้ายๆฝรั่งมากกว่า เป็นการผสมผสานสไตล์ของตะวันตก เข้ากับตะวันออกแบบท้องถิ่น คือจีนที่จะเน้นเรื่องลวดลายต่างๆแต่ไม่ได้มีแต่ลายฉลุเพียงอย่างเดียว มีการประดับตกแต่งด้วยองค์ประกอบอื่นๆอีกหลายอย่าง เป็นอิทธิพลที่แพร่กระจายและนิยมกัน คือเรื่องค้าขายนั้นคนจีนที่อพยพมาเมืองไทย ที่จะหาดูง่ายที่สุดก็ที่ภูเก็ต เพราะมีตึกที่อนุรักษ์และอยู่ในสภาพดีมากหน่อย แต่ของเราจะมีเอกลักษณ์ที่ จะมีทางเดินด้านหน้าตึกแถวด้วยต่อกันยาว คงเป็นเพราะภาคใต้เราฝนเยอะ เลยต้องมีทางเดินคลุมกันฝน ที่มาเก๊าก็เป็นเมืองขึ้นของโปรตุเกสมานาน รูปแบบเขาก็ผสมผสานแบบเดียวกัน แต่เมืองไทยเราไม่ได้เป็นเมืองขึ้นของใคร ดังนั้นอิทธิพลทางรูปแบบก็จะมาจากความนิยมเสียมากกว่าอย่างอื่น จึงมีหลายรูปแบบปะปนกันไป อย่างที่ภูเก็ตนั้นก็ไม่ใช่จะมีแต่แบบชิโนโปรตุกีสอย่างเดียว แบบโคโลเนียล ก็มีด้วยเช่นกัน


นี่เป็นโปรตุกีสโคโลเนียลในมาเก๊า ก็ไม่ค่อยผสมเป็น ชิโนโปรตุกีสเหมือนของเรา





นี่เป็นชิโนโปรตุกีส ในภูเก็ต จะเห็นลักษณะความเป็นจีนมากกว่า





สไตล์โคโลเนียล (Colonial Style) รู้สึกว่าจะเป็นสไตล์ที่กว้าง และกระจายมากขึ้นไปอีก โคโลเนียลหรืออาณานิคมนั้น ก็จะสมัยโบราณร่วมๆยุคกับอีก 2 แบบมาแล้ว แต่ถ้าเรารู้ประวัติศาสตร์ การล่าอาณานิคมนั้น ชาติมหาอำนาจตอนนั้น ก็มีอังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน เป็นหลัก ยึดได้อาณานิคมไว้ในครอบครองจำนวนมาก ส่วนโปรตุเกส ฮอลันดา ก็พอได้กับเขาบ้างแต่ไม่มาก ที่ผมว่ากว้างและกระจายกว่ากันนั้น เพราะมันมีไปทั่วโลก ไม่ใช่เฉพาะเอเชียของเรา อย่างอเมริกาและอเมริกาใต้นั้น ก็เป็นอาณานิคมขนาดใหญ่มหึมาเลย


ตึกแบบ British colonial ในประเทศต่างๆ









ดังนั้น สไตล์โคโลเนียล สรุปได้ว่าเป็นสไตล์ที่เจ้าของประเทศหลักๆ ที่ไปยึดครองเขานั่นแหละ ไปแพร่อิทธิพลหรือรูปแบบไว้ เป็นรูปแบบที่ไม่ได้ผสมผสานกับรูปแบบท้องถิ่น ดังนั้นสไตล์นี้ ไม่ว่าที่ไหนในโลก ถ้าประเทศเคยเป็นอาณานิคมเขามาแล้ว ก็จะมีรูปแบบคล้ายๆกันหมดเลย เช่น บ้านสไตล์โคโลเนียล ของอังกฤษ ที่แพร่สู่อาฟริกา อินเดีย ศรีลังกา และสิงคโปร์ หลังการปฏิวัติทางอุตสาหกรรมในช่วงศตวรรษที่ 19 ก็จะเป็นแบบหนึ่ง บ้านสไตล์โคโลเนียล ของฝรั่งเศสก็เป็นมหาอำนาจอีกประเทศหนึ่งที่มีการแผ่อิทธิพลทางวัฒนธรรมสู่ประเทศต่างๆ ที่ตกเป็นอาณานิคมมากมาย ที่เห็นมากก็ในลาว เขมร ที่เคยเป็นเมืองขึ้น


French Colonial ในลาวและเขมร











ส่วน สเปนก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่เคยเป็นนักล่าอาณานิคม และได้ทิ้งสไตล์บ้านแบบสเปนไว้ในหลายประเทศ โดยเฉพาะในแถบอเมริกาใต้ ทางเอเชียก็มีฟิลิปปินส์ เป็นต้น (แต่บ้านสเปนหรือโคโลเนียลแบบไทยนั้น สงสัยจะนำเข้ามาโดย land & house ซะมากกว่า เพราะเพิ่งจะเห็นมาเมื่อประมาณ 30 ปีมานี่เอง)

บ้านแบบ Spanish Colonial ในประเทศต่างๆเช่นอเมริกา









อาคารแบบ Spanish Colonial





สไตล์โคโลเนียลที่คล้ายๆกันทั่วไป



สไตล์โคโลเนียลที่ภูเก็ต คุณดูแล้ว ว่าเหมือนของใครมากกว่ากันเอ่ย








ดังนั้นจะเห็นว่า บ้านสไตล์โคโลเนียล ก็ยังมีความแตกต่างกันไป แล้วแต่ว่าได้รับอิทธิพลมาจากใครนั่นเอง บ้านสไตล์โคโลเนียล จึงมีรูปแบบที่หลากหลายมากกว่าเพื่อน ที่จริงในกรุงเทพฯเรา ก็มีในยุคที่ความเจริญ และการติดต่อกับต่างชาติเฟื่องฟูในสมัยรัชกาลที่ 5 แถวบ้านหม้อ คลองหลอด ถนนเจริญกรุง เราจะเห็นตึกแถวที่ดูเป็นแบบฝรั่ง นี่ก็เป็นรูปแบบของ สไตล์โคโลเนียลอีกแบบเช่นกัน ดูรูปประกอบไปก็คงจะเห็นความแตกต่างกัน และแยกแยะได้ดีขึ้นนะครับ ให้ดูประดับความรู้ ไม่ต้องไปซีเรียสกับมันมากครับ