ส่วนเรื่องความสวยงามหรือสไตล์บ้านนี่
มักเปลี่ยนไปตามกาลเวลาคล้ายแฟชั่น ซึ่งเป็นผลกระทบจากอิทธิพลทางสังคม
วัฒนธรรม และการเมือง ที่แพร่ขยายเข้ามาสู่ประเทศในระยะเวลานั้นๆ
บ้านในยุคที่อังกฤษและฝรั่งเศสออกล่าอาณานิคม ที่แพร่หลายไปทั่วโลก
คือบ้านสไตล์โคโลเนียล
โดยความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการค้าและอารยธรรมจากซีกโลกตะวันตก
ได้แพร่เข้ามาก่อน
บ้านที่ชาวต่างชาติเข้ามาสร้างอยู่จะเป็นแบบอย่างให้คนไทยลอกเลียนแบบ
จนในที่สุดก็ทำให้เกิดบ้านสไตล์สากล (International Style) อย่างปัจจุบัน
อิทธิพลนี้ถ้าเรียกตามภาษาการตลาด คือกระแสความนิยมนั่นเอง
ซึ่งตอนนี้กระแสความนิยมเรื่องบ้านไม่ได้มาจากตะวันตกอีกแล้ว
แต่มาจากตะวันออกด้วยกัน คือมาสู่ยุคบ้านบาหลี ไม่ว่าบ้าน สปา รีสอร์ท
โรงแรม ล้วนเป็นบาหลีไปหมด (แล้วจะเขียนเรื่องบ้านบาหลีต่อไป)
ก่อนหน้านี้คนจีนที่อพยพมาหากินในประเทศไทย ได้นำวิธีการก่อสร้างเรือนแถวที่เป็นดินมาก่อสร้างที่อยู่อาศัยกันก่อน แต่ด้วยรูปแบบวิธีการนั้นคนไทยไม่นิยม จึงไม่แพร่หลาย มีเพียงชาวจีนเท่านั้นที่สร้างอยู่กันเอง และก็สูญหายไปในที่สุด แต่เรือนปั้นหยา เป็นเรือนสมัยใหม่ที่รับอิทธิพลจากต่างชาติทางตะวันตกนั้น เริ่มต้นจากที่รัชกาลที่ 4 ทรงศึกษาภาษาอังกฤษและติดต่อค้าขายกับต่างชาติ และทรงสร้างเรือนปั้นหยาไว้ในเขตพระราชวังต่างๆก่อน จุดเด่นของหลังคาปั้นหยาคือ ชายคาที่คลุมรอบ 4 ด้าน ต่างจากเรือนไทยเดิม ซึ่งเป็น ชายคา 2 ด้าน มีหน้าจั่ว จากเรือนปั้นหยาก็วิวัฒนาการมาเป็นเรือนมนิลา มีจั่วด้านหน้า 1 ด้าน และชายคาคลุม 3 ด้าน แล้วก็ถึงยุคบ้านสไตล์วิคตอเรียน ที่สร้างในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 เป็นบ้านพักของสถานทูตฝรั่งเศส งดงามด้วยฉลุไม้ และระเบียงร่มเย็น เริ่มต้นจากในรั้วในวัง และวัดวาอาราม ความนิยมก็มาสู่พ่อค้า คหบดี ในช่วงนั้นกรุงเทพฯ ก็จะมีบ้านในสไตล์นี้สร้างตามกันมามากมาย รวมทั้งรูปแบบที่เน้นการประดับลวดลายฉลุไม้ ที่เรียกว่า เรือนขนมปังขิง
เรือนขนมปังขิง มีลักษณะเด่นที่ทำให้เราจดจำได้ดีคือ บ้านหลังคาติดลูกไม้ฉลุ ที่รับอิทธิพลจากบ้าน Ginger Bread Style ที่งดงามด้วยลายฉลุไม้ ที่ตรงกับรสนิยมคนไทย ที่ชอบความละเอียด ประณีต อ่อนช้อยอยู่แล้ว ประกอบกับวัสดุที่เป็นไม้ก็มีมากมาย ช่างไม้ก็มีฝีมือในการออกแบบและฉลุลาย บางหลังก็มีการดัดแปลงเป็นลายไทยแทนลายฝรั่ง บ้านแบบนี้จึงได้รับความนิยมอย่างสูง มาตั้งแต่นั้น นอกจากบ้านแล้ว งานในลักษณะนี้ยังมีการดัดแปลงมาทำเฟอร์นิเจอร์ต่างๆอีกด้วย จนถึงช่วงปลายรัชกาลที่ 6 ความนิยมก็เริ่มซาลง ไม้เริ่มมีราคาแพงขึ้น ความนิยมเริ่มเปลี่ยนไป เป็นเน้นการออกแบบหลังคาซ้อน หรือจั่วตัดแทน จนในสมัยรัชกาลที่ 7 บ้านก็เข้าสู่ยุคสมัยใหม่ มีรูปแบบเรียบง่าย ลดความหรูหราฟุ่มเฟือยออก ก็คงจะอิทธิพลของการปฏิวัติอุตสาหกรรมของทางตะวันตกนั่นเอง และการเปลี่ยนแปลงก็ยังมีเรื่อยมา จนในสมัยนี้บ้านขนมปังขิงที่หลงเหลืออยู่บ้าง ก็ทรุดโทรม รื้อถอนไปมาก จนหาชมได้ยาก เพราะความเจริญรุกรานมาเรื่อย การบูรณะซ่อมแซม ทำยากและค่าใช้จ่ายสูง จนไม่คุ้มที่จะเก็บรักษาหรืออนุรักษ์ไว้ใช้งาน แต่บ้านที่ยังหลงเหลืออยู่นั้น คนสมัยนี้ที่ไม่รู้ประวัติ ก็จะคิดว่าเป็นบ้านไทยโบราณแบบหนึ่ง
ศาลานั่งเล่น และศาลาท่าน้ำ ก็ทำเป็นเรือนขนมปังขิงได้สวยงาม
รูปแบบบ้านขนมปังขิง ยังได้รับความนิยมกันอยู่จนถึงทุกวันนี้ แต่มีการพัฒนารูปแบบให้มีความเป็นสากลและร่วมสมัยยิ่งขึ้น ตัดทอนลวดลายให้น้อยลง เปลี่ยนวัสดุและวิธีการให้ง่ายขึ้น เช่นการใช้ไม้เทียมปั๊มลายสำเร็จรูปออกมา ได้ทีเป็น 100 เป็น 1000 ไม่ได้นั่งฉลุทีละอันอย่างแต่ก่อน ซึ่งคนที่ชอบบ้านลักษณะนี้ก็นับว่ามีรสนิยมย้อนยุค และชื่นชมความละเอียดอ่อนช้อยพอสมควร
ยุคที่เรือนขนมปังขิงเฟื่องฟูมากๆ ซุ้มประตูแบบมีหลังคาทรงไทย ก็ยังถูกละเลย มาทำลวดลายฉลุกัน ไม่กลัวแดด ฝน กันเลย
ภายในบ้าน การใช้ลวดลายฉลุ ตามเหนือประตู หรือช่องลม นับว่ามีประโยชน์ใช้สอยได้ดี เหมาะสมกับอากาศของบ้านเรา ช่องลมระบายอากาศแบบนี้ก็ถูกละเลย สูญหายไปจากบ้านไทยสมัยใหม่เช่นกัน ทำให้บ้านร้อนอบอ้าว แล้วก็มาแก้กันปลายเหตุ คือติดแอร์กัน เปลืองค่าไฟไปอีก
รูปแบบของบ้านขนมปังขิง ที่ลวดลายอลังการอ่อนช้อย สำหรับบ้านเรานั้นต่อไปก็คงจะหาชมได้ยากขึ้นเรื่อยๆ เพราะการอนุรักษ์นั้น ทำได้ยากอย่างที่ว่า แต่ถ้าเป็นเมืองนอกโดยเฉพาะในอเมริกานั้น ยังมีคนคลั่งใคล้บ้านแบบนี้กันอยู่มาก แนวทางหนึ่งที่เขาอนุรักษ์บ้านแบบนี้ไว้ได้ คือเขาดัดแปลงเป็นเกสต์เฮ้าส์ หรือโรงแรม เพราะเป็นจุดขายอย่างดี ทั้งยังเป็นการหารายได้จากการอนุรักษ์ได้อีกด้วย
ก่อนหน้านี้คนจีนที่อพยพมาหากินในประเทศไทย ได้นำวิธีการก่อสร้างเรือนแถวที่เป็นดินมาก่อสร้างที่อยู่อาศัยกันก่อน แต่ด้วยรูปแบบวิธีการนั้นคนไทยไม่นิยม จึงไม่แพร่หลาย มีเพียงชาวจีนเท่านั้นที่สร้างอยู่กันเอง และก็สูญหายไปในที่สุด แต่เรือนปั้นหยา เป็นเรือนสมัยใหม่ที่รับอิทธิพลจากต่างชาติทางตะวันตกนั้น เริ่มต้นจากที่รัชกาลที่ 4 ทรงศึกษาภาษาอังกฤษและติดต่อค้าขายกับต่างชาติ และทรงสร้างเรือนปั้นหยาไว้ในเขตพระราชวังต่างๆก่อน จุดเด่นของหลังคาปั้นหยาคือ ชายคาที่คลุมรอบ 4 ด้าน ต่างจากเรือนไทยเดิม ซึ่งเป็น ชายคา 2 ด้าน มีหน้าจั่ว จากเรือนปั้นหยาก็วิวัฒนาการมาเป็นเรือนมนิลา มีจั่วด้านหน้า 1 ด้าน และชายคาคลุม 3 ด้าน แล้วก็ถึงยุคบ้านสไตล์วิคตอเรียน ที่สร้างในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 เป็นบ้านพักของสถานทูตฝรั่งเศส งดงามด้วยฉลุไม้ และระเบียงร่มเย็น เริ่มต้นจากในรั้วในวัง และวัดวาอาราม ความนิยมก็มาสู่พ่อค้า คหบดี ในช่วงนั้นกรุงเทพฯ ก็จะมีบ้านในสไตล์นี้สร้างตามกันมามากมาย รวมทั้งรูปแบบที่เน้นการประดับลวดลายฉลุไม้ ที่เรียกว่า เรือนขนมปังขิง
เรือนขนมปังขิง มีลักษณะเด่นที่ทำให้เราจดจำได้ดีคือ บ้านหลังคาติดลูกไม้ฉลุ ที่รับอิทธิพลจากบ้าน Ginger Bread Style ที่งดงามด้วยลายฉลุไม้ ที่ตรงกับรสนิยมคนไทย ที่ชอบความละเอียด ประณีต อ่อนช้อยอยู่แล้ว ประกอบกับวัสดุที่เป็นไม้ก็มีมากมาย ช่างไม้ก็มีฝีมือในการออกแบบและฉลุลาย บางหลังก็มีการดัดแปลงเป็นลายไทยแทนลายฝรั่ง บ้านแบบนี้จึงได้รับความนิยมอย่างสูง มาตั้งแต่นั้น นอกจากบ้านแล้ว งานในลักษณะนี้ยังมีการดัดแปลงมาทำเฟอร์นิเจอร์ต่างๆอีกด้วย จนถึงช่วงปลายรัชกาลที่ 6 ความนิยมก็เริ่มซาลง ไม้เริ่มมีราคาแพงขึ้น ความนิยมเริ่มเปลี่ยนไป เป็นเน้นการออกแบบหลังคาซ้อน หรือจั่วตัดแทน จนในสมัยรัชกาลที่ 7 บ้านก็เข้าสู่ยุคสมัยใหม่ มีรูปแบบเรียบง่าย ลดความหรูหราฟุ่มเฟือยออก ก็คงจะอิทธิพลของการปฏิวัติอุตสาหกรรมของทางตะวันตกนั่นเอง และการเปลี่ยนแปลงก็ยังมีเรื่อยมา จนในสมัยนี้บ้านขนมปังขิงที่หลงเหลืออยู่บ้าง ก็ทรุดโทรม รื้อถอนไปมาก จนหาชมได้ยาก เพราะความเจริญรุกรานมาเรื่อย การบูรณะซ่อมแซม ทำยากและค่าใช้จ่ายสูง จนไม่คุ้มที่จะเก็บรักษาหรืออนุรักษ์ไว้ใช้งาน แต่บ้านที่ยังหลงเหลืออยู่นั้น คนสมัยนี้ที่ไม่รู้ประวัติ ก็จะคิดว่าเป็นบ้านไทยโบราณแบบหนึ่ง
รูปแบบบ้านขนมปังขิง ยังได้รับความนิยมกันอยู่จนถึงทุกวันนี้ แต่มีการพัฒนารูปแบบให้มีความเป็นสากลและร่วมสมัยยิ่งขึ้น ตัดทอนลวดลายให้น้อยลง เปลี่ยนวัสดุและวิธีการให้ง่ายขึ้น เช่นการใช้ไม้เทียมปั๊มลายสำเร็จรูปออกมา ได้ทีเป็น 100 เป็น 1000 ไม่ได้นั่งฉลุทีละอันอย่างแต่ก่อน ซึ่งคนที่ชอบบ้านลักษณะนี้ก็นับว่ามีรสนิยมย้อนยุค และชื่นชมความละเอียดอ่อนช้อยพอสมควร
ยุคที่เรือนขนมปังขิงเฟื่องฟูมากๆ ซุ้มประตูแบบมีหลังคาทรงไทย ก็ยังถูกละเลย มาทำลวดลายฉลุกัน ไม่กลัวแดด ฝน กันเลย
ภายในบ้าน การใช้ลวดลายฉลุ ตามเหนือประตู หรือช่องลม นับว่ามีประโยชน์ใช้สอยได้ดี เหมาะสมกับอากาศของบ้านเรา ช่องลมระบายอากาศแบบนี้ก็ถูกละเลย สูญหายไปจากบ้านไทยสมัยใหม่เช่นกัน ทำให้บ้านร้อนอบอ้าว แล้วก็มาแก้กันปลายเหตุ คือติดแอร์กัน เปลืองค่าไฟไปอีก
รูปแบบของบ้านขนมปังขิง ที่ลวดลายอลังการอ่อนช้อย สำหรับบ้านเรานั้นต่อไปก็คงจะหาชมได้ยากขึ้นเรื่อยๆ เพราะการอนุรักษ์นั้น ทำได้ยากอย่างที่ว่า แต่ถ้าเป็นเมืองนอกโดยเฉพาะในอเมริกานั้น ยังมีคนคลั่งใคล้บ้านแบบนี้กันอยู่มาก แนวทางหนึ่งที่เขาอนุรักษ์บ้านแบบนี้ไว้ได้ คือเขาดัดแปลงเป็นเกสต์เฮ้าส์ หรือโรงแรม เพราะเป็นจุดขายอย่างดี ทั้งยังเป็นการหารายได้จากการอนุรักษ์ได้อีกด้วย